top of page

Messages from Supporters of BIPAM

อันดับแรก ต้องขอขอบคุณทีมงาน BIPAM ที่พยายามสานต่อโครงการจากปีก่อนๆ เพื่อริเริ่มและสนับสนุนการสร้างสัมพันธ์ระหว่างผู้ทำงานศิลปะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากงานแบบนี้หาได้ยากในภูมิภาคเรา จึงน่ายินดีที่ได้เห็นโครงการนี้จัดต่อเนื่อง และได้เห็นโครงการอื่นๆ ตามเมืองต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มุ่งเน้นการถกเถียงแลกเปลี่ยนในเชิงวิพากษ์วิชาการ ด้วยความที่ภายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มักไม่ค่อยสนับสนุนงานศิลปะมากนัก การจัดงานเหล่านี้ได้จึงสมควรยกย่องอย่างยิ่ง ดิฉันขออวยพรให้โครงการต่างๆ ที่ว่ามาประสบความสำเร็จ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้ดำเนินการต่อไปในอนาคต

 

ในฐานะคิวเรเตอร์รับเชิญของ BIPAM ในปีนี้ ดิฉันอยากเห็นว่าเราจะขยายผลต่อยอดบทสรุปที่เกิดขึ้นจากปีที่แล้วได้อย่างไรบ้าง และจะหาวิธีจัดการหรือสร้างไอเดียใหม่ๆ เพื่อตอบสนองต่อประเด็นปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการทำงานได้อย่างไร ประเด็นเหล่านี้จะมีอยู่ในงานเสวนาสองงาน ซึ่งเราจะมาพูดคุยกันว่าทีมผู้สร้างจะทำอย่างไรเพื่อให้สามารถสนับสนุนงานศิลปะที่มีประเด็นต่อต้านอำนาจได้บ้าง และพิจารณาอิงตามความจริงว่าผู้สร้างงานที่หวังจะเปลี่ยนแปลงสังคมเองจะมีปฏิสัมพันธ์อย่างไรต่อหน่วยงานที่มีอำนาจเปลี่ยนแปลง

 

สุดท้ายนี้ ขอขอบคุณศศพินทุ์ ศิริวาณิชย์, สิรี ริ้วไพบูลย์ และคณะกรรมการ BIPAM สำหรับไอเดียและฟีดแบ็คทั้งหมดที่เกิดขึ้นในการประชุมหัวข้อเสวนาที่จะจัด หวังว่าจะช่วยจุดประกายความคิดและเป็นประเด็นถกเถียงที่เป็นประโยชน์ต่อผู้สร้างงานต่อไปในอนาคต

2 PAF BACC logo.png

BANGKOK ART & CULTURE CENTRE (BACC)

This year marks the third time the Bangkok Art and Culture Centre has formed a partnership with Bangkok International Performing Arts Meeting. Since the festival’s conception in 2017, BACC has highly valued the importance of creating a platform to enable and promote a dialogue between performing arts practitioners, and its potential to help understand different countries’ social contexts and contemporary cultures. Also, it helps expand the knowledge of each artist and apply it to other participants’ context.

 

Furthermore, the BIPAM staff comprises a group of young people who has grown up in the path of performing arts. Today, they see the potential and opportunity for Thailand to organize this project which helps bring together artists, academics, practitioners and the audience through their shared knowledge and lessons. In other words, they share a common goal with BACC which serves as an advocacy platform for social and cultural works, which in turn encourages the society as a whole to better understand the value and diversity of the arts, from local to global levels, as well as develop the practice of cultural management.

 

BACC is thus proud to be a part of the Bangkok International Performing Arts Meeting 2019, which will hopefully deepen the understanding of cultural, social and economic dimensions of Southeast Asia, and will continue to be a supportive space for contemporary arts and culture in Bangkok.

หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครได้ร่วมเป็นพันธมิตรในการจัดงาน “การประชุมนานาชาติทางศิลปะการแสดงแห่งกรุงเทพมหานคร” หรือ “Bangkok International Performing Arts Meeting 2019” มาเป็นปีที่ 3 แล้ว นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2560 ตั้งแต่เริ่มต้นนั้น ทางหอศิลปกรุงเทพฯเห็นว่ากระบวนการสร้างพื้นที่เพื่อสนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์จากกลุ่มผู้สร้างสรรค์งานด้านศิลปะการแสดงนั้นเป็นเรื่องสำคัญอันจะส่งผลให้เกิดการขยายขอบเขตความเข้าใจในบริบททางสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัยของแต่ละประเทศ ทั้งยังมีการส่งต่อบทเรียนที่ศิลปินแต่ละท่านได้ผ่านพบเพื่อนำมาเรียนรู้และปรับใช้ในบริบทต่าง ๆ ของผู้ที่ได้ร่วมแบ่งปันได้อย่างมีมิติ

 

อีกทั้งโครงการฯ ที่จัดขึ้นนี้ยังดำเนินโดยทีมงาน BIPAM ซึ่งเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เติบโตในเส้นทางศิลปะการแสดงมาเกินครึ่งชีวิตของเขาและเธอ ในวันนี้พวกเขาได้เล็งเห็นถึงศักยภาพและโอกาสที่ประเทศไทยจะสร้างโครงการฯ นี้ขึ้นเพื่อเชื่อมต่อกลุ่มศิลปิน นักวิชาการ คนทำงาน และผู้ชมให้ได้ก้าวต่อไปโดยใช้ในองค์ความรู้ที่ได้สร้างมาและค้นหาบทสรุปร่วมกัน ซึ่งถือเป็นสิ่งซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายที่หอศิลปกรุงเทพฯ ได้วางไว้แต่ต้นในการร่วมเป็นพื้นที่สนับสนุนงานด้านสังคม ศิลปวัฒนธรรม ซึ่งกระตุ้นให้เกิดการขับเคลื่อนให้สังคมได้เข้าใจถึงคุณค่าและความหลากหลายของงานศิลปวัฒนธรรมในระดับท้องถิ่นไปจนถึงบริบทของโลก รวมถึงการพัฒนาการจัดการด้านศิลปวัฒนธรรมให้มีมาตรฐานในระดับนานาชาติ

 

หอศิลปกรุงเทพฯ มีความยินดีอย่างยิ่งที่เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนให้งาน “การประชุมนานาชาติทางศิลปะการแสดงแห่งกรุงเทพมหานคร” หรือ “Bangkok International Performing Arts Meeting 2019” มีความต่อเนื่องและขยายผลในมิติอันหลากหลาย ทั้งในเชิงศิลปะ สังคม และในมุมเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจะร่วมสนับสนุนภายใต้พันธกิจของการเป็นพื้นที่ทางศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยของกรุงเทพมหานครต่อไป

Kanharat Leamthong.jpg

KANHARAT LEAMTHONG             

Head of Art Activities Department -

Performative Art Festival 2019

3 HostBKK logo.jpg

HOSTBKK

It took me 4 years to build Hostbkk, and it has been my dream for over 10 years to do a project in Thailand, my native home. I am a professional dancer myself, and I believe in having a proper space to create my art, be it dance or collaborating with other art forms.

I have always wanted to have a professional dance space in Bangkok that can also transform into a small scale theatre. What's more, this space would also serve as a hang out space for artists from every area can meet, exchange ideas, or simply enjoy that vibe of creative diversity, to inspire and learn so that we can improve our inner selves and the society. Although it is a big dream, I am patient because I am passionate about what I do. Either way, I am happy just to be in a dance studio.

When I met BIPAM, I felt that like me they are crazy enough to follow their dreams and beliefs, to make a project happen for a good cause. Their goals fit perfectly with what I have planned for Hostbkk. We both believe in exchanging between the local and international level and to be the centre of communication starting in South East Asia. That was the reason I decided to be partners with BIPAM, because I think beautiful things will come out of this project in the future.

กว่าเราจะเริ่มทำ Hostbkk ให้เป็นรูปเป็นร่างได้ก็ใช้เวลา 4 ปี แล้วเราเองก็ฝันจะสร้างงานในบ้านเกิดมากว่า 10 ปีแล้ว ส่วนตัวเราเองก็เป็นศิลปิน (สายแดนซ์) ซึ่งเราเชื่อในเรื่องการมีสเปซเพื่อสร้างงานของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นงานเต้นหรืองานร่วมสร้างกับศิลปะแขนงอื่นๆ แล้วก็อยากมีสเปซสำหรับงานอาชีพในกรุงเทพที่สามารถดัดแปลงให้รองรับงานละครโรงเล็กได้ด้วย แล้วก็อยากให้เป็นที่แฮงเอาท์ให้ศิลปินต่างแขนงได้มาพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน หรือเอาง่ายๆ แค่ให้มีพลังบวก มีพลังสร้างสรรค์มารวมกันอยู่ในที่เดียว ให้เป็นแหล่งสร้างแรงบันดาลใจ สร้างสรรค์กิจกรรม สั่งสมประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อให้เราได้เติบโตไปด้วยกัน ทั้งระดับปัจเจกและสังคม ถึงจะเป็นความฝันที่ใหญ่เกินตัว แต่เราก็ต้องใจเย็นกับมัน เพราะเป็นสิ่งที่ทำด้วยใจรักจริงๆ แต่จริงๆ แค่มีสตูดิโอเต้นเป็นของตัวเองก็แฮปปี้มากแล้ว

พอได้มาคุยกับ BIPAM เราดีใจมากเลยว่ามีคนที่บ้าเหมือนกัน พร้อมจะไล่ตามความฝัน ริเริ่มโปรเจคดีๆ เหมือนกัน ซึ่งจุดประสงค์ของงานก็ตอบโจทย์กับจุดประสงค์การสร้าง Hostbkk ของเราด้วย เพราะเราเชื่อในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับต่างชาติ ระดับโลก ต้องเริ่มจากศูนย์กลางภายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก่อน เราก็เลยตกลงจะร่วมงานกับ BIPAM เพราะเชื่อว่าจะให้กำเนิดสิ่งดีๆ ต่อไปในอนาคต

Sarawnee Tanatanit.jpg

SARAWANEE TANATANIT             

Founder of Host BKK

4 Goethe Institut logo.jpg

GOETHE-INSTITUT

The Goethe-Institut Thailand is a proud partner of BIPAM. With a history of 60 years of cultural exchange between the Federal Republic of Germany and the Kingdom of Thailand, we whole-heartedly support the lasting value created by this event series. It brings us great joy to watch BIPAM grow each year and become a significant platform not only for Thai performers but artists from all over South East Asia. Fostering intercultural exchange is the key mission of the Goethe-Institut and the workshops, talks and meetings that are part of BIPAM offer an ideal foundation for our work.

The theme “Eyes Open” resonates strongly with current developments around the world. In a globalised society, we are tempted to look and place judgement on other cultures, values and ways of life,avoiding a reflection of one’s own. The lines between “us” and “them” seem to be reinforced by growing polarization. By challenging these perceptions, BIPAM 2019 is certain to burst with important social and cultural impulses.

สถาบันเกอเธ่ภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของเทศกาล BIPAM

ด้วยความสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรมอันยาวนานกว่า 60 ปีระหว่างสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและราชอาณาจักรไทย เรามีความยินดีที่จะสนับสนุนให้เกิดเทศกาลนี้ซึ่งจะมีคุณค่าต่อไปในภายภาคหน้า เราดีใจที่เห็นเทศกาล BIPAM เติบโตขึ้นในทุกๆ ปี และกลายเป็นพื้นที่สำหรับศิลปินทั้งไทยและต่างประเทศ โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมอันเป็นภารกิจสำคัญของสถาบันเกอเธ่ และกิจกรรมต่างๆ อาทิ เวิร์คช็อปและงานเสวนาที่เป็นส่วนหนึ่งในเทศกาล เป็นพื้นฐานสำคัญที่เราจะนำไปใช้ต่อยอดได้

หัวข้อ Eyes Open ในครั้งนี้ มีความเชื่อมโยงอย่างแนบแน่นกับเหตุการณ์ปัจจุบันต่างๆ ทั่วโลก ในสังคมโลกาภิวัตน์ เรามักจะมองดูและตัดสินวัฒนธรรมอื่น จารีต วิถีชีวิตแบบอื่นนอกเหนือจากของเรา แต่กลับไม่มองย้อนดูเงาสะท้อนของตนเอง อีกทั้งเส้นแบ่งระหว่าง “เรา” และ “ผู้อื่น” ดูจะชัดเจนขึ้นในสภาวะสังคมแยกขั้วสุดโต่ง ซึ่งการที่ BIPAM ท้าทายความคิดดังกล่าว ย่อมกระตุ้นให้เกิดแรงผลักดันทั้งในด้านสังคมและวัฒนธรรมมากขึ้นอย่างแน่นอน

Maren Niemeyer director of Goethe-Institut Bangkok

MAREN NIEMEYER                     

Director of Goethe-Institut Bangkok

5_Alliance_Française_logo.png

ALLIANCE FRANCAISE BANGKOK

Dear art lovers,

 

Alliance Française is very proud to be a partner of BIPAM for the first time this year. This innovative, provoking, thoughtful Festival enhances the artistic scene of Bangkok and we are very honored to welcome two remarkable productions to Alliance. They really correspond perfectly with what we stand for: nurturing young talents, and encouraging cooperation and dialogue between cultures.

แด่ผู้รักศิลปะทุกท่าน

 

Alliance Française มีความภูมิใจที่ได้ร่วมเป็นพันธมิตรของ BIPAM ซึ่งเป็นเทศกาลที่จะนำเสนอให้ผู้ชมได้รู้จักกับแง่คิดและมุมมองใหม่ๆ ให้กับแวดวงศิลปะในกรุงเทพฯ นอกจากนี้ ทางเรารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้เอื้อเฟื้อสถานที่จัดงานแสดงโดยศิลปิน 2 กลุ่ม ซึ่งต่างก็มีความเชื่อเหมือนเราในแง่การให้โอกาสศิลปินรุ่นเยาว์ และสนับสนุนความร่วมมือระหว่างวัฒนธรรม

Pascale Fabre Director of Alliance Franç

PASCALE FABRE                         

Director of Alliance Francaise Bangkok

6 UNESCO SDG logo.png

UNESCO

It is a privilege for us to take part in the 2019 Bangkok International Performing Art Meeting. Our two organizations, BIPAM and UNESCO, share many similar goals and ambitions. UNESCO strives to build a world where creativity flourishes, where artists freely create and disseminate their works, where intercultural dialogues and exchanges of ideas are encouraged, and where everybody has equal rights to enjoy culture and the arts. Through international legal frameworks, notably the 2005 Convention on the Protection and Promotion of the Diversity of Cultural Expressions, we support the countries to realize the power of culture and the arts in building a prosperous, peaceful and sustainable future for all. BIPAM demonstrates concretely how abstract global concepts can be relevant to reflect regional and local realities and address their priorities.

Partnering with BIPAM this year provides UNESCO with a valuable platform to advocate for the issues that are pertinent to the countries in Southeast Asia and I thank BIPAM for giving us this opportunity. I am also pleased to witness a growing community of artists, creators and thinkers in this region and I look forward to this important gathering.

เรารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้ร่วมงานเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาล BIPAM 2019

ทั้งองค์กร BIPAM และยูเนสโกต่างก็มีจุดมุ่งหมายที่คล้ายคลึงกัน ยูเนสโกมุ่งหวังจะให้เกิดโลกที่ความคิดสร้างสรรค์ได้เจริญเติบโตงอกงาม ศิลปินมีอิสระในการสร้างงานและเผยแพร่งานของตนอย่างเต็มที่ การพูดคุยแลกเปลี่ยนระหว่างวัฒนธรรมเป็นสิ่งพึงประสงค์ และทุกคนมีสิทธิ์เท่าเทียมกันในการรับชมศิลปะวัฒนธรรมต่างๆ เราจัดตั้งกรอบกฎหมายเช่นสนธิสัญญาว่าด้วยการปกป้องและสนับสนุนความหลากหลายในการแสดงออกทางวัฒนธรรมปี 2005 เพื่อเปิดโอกาสให้ประเทศต่างๆ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของศิลปะวัฒนธรรมต่อการสร้างอนาคตที่เจริญรุ่งเรืองและยั่งยืนสำหรับทุกคน ส่วน BIPAM เองก็ได้แสดงให้เห็นแล้วว่ากรอบแนวคิดนามธรรมที่เป็นสากลสามารถนำมาใช้สะท้อนความเป็นจริงภายในระดับภูมิภาคและระดับท้องถิ่นได้อย่างเป็นรูปธรรม

ความร่วมมือระหว่าง BIPAM และยูเนสโกครั้งนี้ มีส่วนช่วยสร้างพื้นที่สนับสนุนประเด็นปัญหาต่างๆ ที่แทรกซึมอยู่ในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในโอกาสนี้ ข้าพเจ้าขอขอบคุณเทศกาล BIPAM ที่ให้โอกาสกับเรา ข้าพเจ้ายินดีที่จะได้เห็นการเติบโตของชุมชนระดับภูมิภาคที่รวบรวมศิลปิน นักคิด นักสร้างสรรค์และรอคอยวันที่จะได้ร่วมงานอันสำคัญยิ่งในครั้งนี้

Duong Bich Hanh Chief of Culture Unit UN

DUONG BICH HANH                    

Chief of Culture Unit UNESCO Bangkok

8 ONDA logo.png

Office National de Diffusion Artistique (ONDA)

It is no surprise that BIPAM is quickly becoming an important international meeting. Not only is the international arts and cultural sector in need of platforms capable of connecting people and ideas, but it’s also in urgent need to better understand contemporary artistic production in resonance with the context in which it is grown. This is our first collaboration with BIPAM, and as we look forward to discovering strong and engaging artistic work, we are confident that this collaboration will deepen and challenge our understanding of the broad and complex conditions in which Thai and South East Asian artists are developing their practices. 

With a team as generous, driven, and dedicated, we are certain that BIPAM can only grow in impact and relevance for Asian as well as international artists and professionals, and we are looking forward to further developing our collaboration.

.

Geoliane Arab International Advisor at O

GEOLIANE ARAB                        

International Advisor at ONDA

9 PATH logo.jpg

Alliance of Performing Arts in Higher Education of Thailand

About PATH (Alliance of Performing Arts in Higher Education of Thailand)

After four decades of development of modern theatre in Thailand, there are over twelve universities offering degrees related to performing arts (theatre and dance). Initiated by Assistant Professor Dr. Parichat Jungwiwattanaporn, Dean of the Faculty of Fine and Applied Arts (2012 – 2018), Thammasat University, together with representatives from 12 universities, Alliance of Performing Arts in Higher Education of Thailand (PATH) was officially formed on March 4, 2016, with three objectives:

  1. To be a platform for inter-relations among  the organizations with academic professionals in the performing arts in the higher education sector;

  2. To  seek and support  the performing arts professionals  to meet OHEC qualifications;

  3. To support the development of research and/or creative works.

 

 

Message from PATH

 

It is our great pleasure to collaborate with BIPAM for this third international exchange and meeting. BIPAM is an important platform for international artists, academics, producers, andperforming art enthusiasts, particularly in southeast Asia, to meet up and exchange experiences. It is the place for the mind to be inspired and the energy to be recharged, with hope to move the performing arts and the communities forward. We would like to express our appreciation to the BIPAM committee members who have put forth great passion and efforts into shaping and creating this unique platform. We hope for prosperous future for BIPAM in the years to come.

ความเป็นมาของ “สมาพันธ์ศิลปะการแสดงระดับอุ­­ดมศึกษาแห่งประเทศไทย (ศอท.)”

นับตั้งแต่สี่สิบปีก่อนที่การละครสมัยใหม่ถือกำเนิดขึ้นในประเทศไทย ปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยรวม 12 แห่งที่เปิดหลักสูตรการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับศิลปะการแสดง (การละครและนาฏยศิลป์)ผศ. ดร. ปาริชาติ จึงวิวัฒนาภรณ์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(พ.ศ. 2555-2561) จึงริเริ่มร่วมกับตัวแทนจากมหาวิทยาลัยรวม 12 แห่ง ก่อตั้งสมาพันธ์ศิลปะการแสดงระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย (ศอท.)ในวันที่ 4 มีนาคม 2559โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ 3 ประการดังต่อไปนี้

  1. เพื่อเป็นสื่อกลางหรือเวทีด้านความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับศิลปะการแสดง

  2. เพื่อพัฒนาและส่งเสริมให้เกิดผู้แทนสาขาศิลปะการแสดงในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิ

  3. เพื่อพัฒนาคุณภาพ ส่งเสริมการวิจัยและการสร้างสรรค์ด้านศิลปะการแสดง

 

สารจาก ศอท.

 

เรามีความภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมงานกับเทศกาล BIPAM เป็นครั้งที่สาม BIPAM เป็นพื้นที่สำคัญเพื่อการพบปะพูดคุยและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างศิลปินจากนานาชาติ นักวิชาการ ผู้สร้าง และผู้ชมการแสดง โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อีกทั้งยังเป็นพื้นที่ที่สร้างแรงบันดาลใจ สร้างกำลังใจเพื่อผลักดันศิลปะการแสดงและชุมชนของศิลปินให้เดินหน้าต่อไปได้ เราใคร่ขอขอบคุณคณะกรรมการเทศกาล BIPAM ที่ทุ่มเทแรงใจก่อร่างสร้างตัวจนเกิดเทศกาลเป็นผลสำเร็จ และขออวยพรให้เทศกาล BIPAM ประสบความสำเร็จยิ่งๆ ขึ้นไปในภายภาคหน้า

Parichat Jungwiwattanaporn Chair of PATH

PARICHAT JUNGWIWATTANAPORN 

Chair of the Alliance of Performing Arts

in Higher Education of Thailand (PATH)

ALFIAN SA'AT - GUEST CURATOR

I think BIPAM is a very important regional node for Southeast Asian artists who work in theatre and performance. Through BIPAM, I have been able to meet various artists who have inspired to think about the affinities, solidarity and collaborations that are possible within the region. ASEAN is primarily a vehicle for economic integration, but something like BIPAM ensures that there are cultural exchanges as well.

"ผมคิดว่า BIPAM มีความสำคัญมากในฐานะศูนย์กลางสำหรับศิลปินสายการละครและการแสดงจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งตัวผมเองก็ได้มารู้จักกับศิลปินใหม่ๆ มากหน้าหลายตาจาก BIPAM ที่จุดประกายให้ผมคิดถึงศักยภาพในการร่วมสร้างงานหรือความร่วมมือต่างๆ ภายในภูมิภาค แม้ว่าเวทีอย่างอาเซียนจะก่อตั้งขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ด้านเศรษฐศาสตร์ แต่การมีโครงการเช่น BIPAM ก็เป็นเครื่องรับประกันได้ว่าภูมิภาคเราสามารถเกิดการแลกเปลี่ยนในเชิงวัฒนธรรมได้เช่นกัน"

Alfian Sa'at Resident Playwright of Wild

ALFIAN SA'AT                            

Resident Playwright of Wild Rice

JUNE TAN - GUEST CURATOR

Firstly, a big thank you to the BIPAM team for continuing the huge effort from last year’s BIPAM to initiate and encourage connections between arts practitioners in Southeast Asia. A meeting of this sort is rare in our region, and it is heartening to see not only this event repeated, but also other initiatives in other Southeast Asian cities focussing on critical discourse and exchange. Southeast Asia is not famed for its support of arts, and the ability to self-organise these events need to be applauded. I do wish all these programmes and initiatives all the best, and hope they will be able to carry on.

 

As BIPAM’s guest curator this year, I look forward to considering how we can extend the discussions initiated last year and to find practical ways to deal, negotiate and generate ideas in response to issues we face in our practice(s). Specifically, through two panels we will examine how producing teams and structures respond and support artistic work with elements of resistance; and to consider in real terms how practitioners can engage with platforms of power and authority to work at social change.

 

Thank you also to Sasapin, Siree and the BIPAM Artistic Committee for their invaluable ideas and feedback while thinking about the panels we ought to be organising. We hope these panels will stimulate ideas and discussion and to ultimately encourage and assist practitioners in their work.

June Tan.png

JUNE TAN                                 

Writer and Producer

Festival Tokyo.png

FESTIVAL/TOKYO

“To meet” is my most treasured hope. Currently everywhere in the world is changing at such a rapid pace, and all the while we’re faced with this suffocating feeling of hopelessness brought on by the anxiety of not being able to see the future. What should we aim for? What should we create? Is there a necessity to destroy anything? It is indeed an age where it is hard to find a clear answer to these questions. Amongst all this, I believe that by having meetings of various kinds, that alone will create a mutual hope for us. By meeting each other, people can change - even the wise can become humble. Also, meetings can be opportunities to give birth to new creations. I would like to pass on my support and respect to BIPAM.

"การได้พบกัน" เป็นความหวังสูงสุดของผม ทุกวันนี้โลกหมุนไปเร็วมาก และเราต้องอยู่กับความรู้สึกอัดอั้นสิ้นหวังเพราะมองไม่เห็นอนาคตว่าจะเป็นอย่างไร เราควรจะมุ่งหน้าไปทางไหน ควรจะสร้างสรรค์อะไรดี เรามีความจำเป็นต้องทำลายอะไรทิ้งบ้างหรือไม่

ยุคนี้เป็นเราไม่อาจหาคำตอบที่ชัดเจนต่อคำถามที่ว่าได้ แต่ผมเชื่อว่าการได้พบปะผู้คนมากหน้าหลายตา เท่านั้นก็เพียงพอต่อการสร้างความหวังในหมู่เรา เมื่อเราพบปะกัน ผู้คนย่อมเปลี่ยนแปลง แม้แต่ผู้ฉลาดอาจนอบน้อมลงได้ นอกจากนี้ การพบปะกันยังเป็นจุดกำเนิดของสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมาได้ ผมขอสนับสนุนและแสดงความคารวะต่อ BIPAM มา ณ ที่นี้

Kaku Nagashima Director of Festival Toky

KAKU NAGASHIMA                     

Director of Festival/Tokyo

bottom of page