top of page

'Shifting Points', Open call for Artists



[ภาษาไทย กรุณาเลื่อนอ่านด้านล่าง]


Bangkok International Performing Arts Meeting(BIPAM), Kyoto Experiment and the Japan Foundation (JF) are pleased to announce the launch of “Shifting Points,” an incubation project for the next generation of performing arts artists in Thailand, Japan, and Southeast Asia, jointly organized by the three organizations.


BIPAM, Kyoto Experiment and JF will select a group of emerging performance-making artists from different backgrounds in Japan, Thailand and Southeast Asia to join a three-year incubation program. Applications are open to artists, art practitioners who create works that are related to performing arts based in Thailand, Southeast Asia, and Japan. In the final selection, a total of 6 participants will be selected from Thailand (2), Southeast Asia (2), and Japan (2).


The participating cohort will gather both online and onsite to expand their ways of thinking and practice by engaging with performing arts practitioners in Southeast Asia and their socio-cultural ecosystem. Thus, they will create a collective learning experience that will result in a performative outcome. The program will be facilitated and advised by a facilitator and guest mentors.


 

[Participant qualification]

● Artists, art practitioners who create works that are related to performing arts based in Thailand, Southeast Asia, and Japan.

● Practitioners who are in search of a different inspiration or expansion to your practice

● Has a willingness to attempt to communicate in English. (We will have interpreters for in-depth sessions)

● No age restriction

● Is eager to…

– Take inspiration from field research

– Expand their practice into a deeper local and regional socio political relevance

– Connect and exchange with other participants

● Selected participants are expected to create a report of the research (does not have to be a written report)


Final selection: Total of 6 participants from Thailand(2), Southeast Asia (2), and Japan(2).


[Schedule outline]

Phase 1 (2025)

● February: Online introductory sessions

● March (10-17): Onsite research, exchange, and idea development in Bangkok and BIPAM2025 with program mentors

● October: Onsite research, exchange, and idea development in Kyoto and Kyoto Experiment 2025 with program mentors


*The process may continue to phase 2 and 3 in Jan-March and October 2026 and March 2027.

(The application process will be renewed and participants will also be reselected to suit each phase of the program.)


[How to apply]

Please fill out this form:

Deadline: before 13 January 2025 (Monday), 23:59 (JP time).


[Selection procedure]

● Results from the document application screening will be sent to each applicant by 15th January. A number of applicants will be invited for an online interview with the organizers.

● The online interview will be conducted during 15 – 22 January.

● Final participants’ selection will be announced by the end of January.


Selected participants will receive travel (domestic and international transportation), accommodation, travel insurance, and per diem (1,500THB per day for Bangkok period) support for each on-site activities.


[For inquiries]


 

[Facilitator & Mentors]


Yuya Tsukahara (Facilitator)





After graduating with a master’s degree in Aesthetics and Art Studies from Kwansei Gakuin University, he joined NPO DANCEBOX as a volunteer and later became a staff member. In 2006, he began activities as an artist as a member of the performance group contact Gonzo. In 2020, he received the Best staff award at the Yomiuri Theater Awards for his scenography and choreography in the theater work Pratthana – A Portrait of Possession. In recent years, he has been involved in various mentoring projects and university lectures to cultivate artists in the younger generation. Yuya is currently one of the co-directors of Kyoto Experiment.



Photo by: Takuya Matsumi



June Tan (Mentor)





June Tan is a producer, scriptwriter and member of the arts collective Five Arts Centre based in Kuala Lumpur. She studied Biology at Imperial College of Science, Technology and Medicine and worked in the corporate world while stage-managing, tour-managing and producing numerous arts productions.


From 2018-2020 June was Director for TPAM in Yokohama, a platform reflecting contemporary thinking in Asia. She is active in ReformARTsi, a grassroots coalition seeking arts policy change and also in environmental activism with Gabungan Darurat Iklim Malaysia. June has written for film (Interchange, Spilt Gravy, Budak Flat, Housekeeping?) and also for numerous platforms in Southeast Asia (Astro, MediaCorp, Netflix, Disney+, Amazon Prime Video, Viu Malaysia)






Helly Minarti (Mentor)








Helly Minarti is a Jakarta-born who relocated to Yogyakarta in late 2018 and continues working as an independent curator/dramaturg/scholar in the field of contemporary performance. She attempts to align her politics/practice of the arts by rethinking radical strategies to connect it with theory grounded in the experiential as well as historical. Applying curating-as-research, one of her core interests is looking at the historiographies of choreography as discursive practice vis-á-vis the eclectic knowledge that infuses the understanding of human body, consciousness and nature. She has co-curated a number of festivals and co-facilitated artistic platforms. Her most recent curatorial projects include Jejak-旅Tabi Exchange: Wandering Asian Contemporary Performance (2018-2021) in four Asian cities and The Sea Within, being the first to do Cruising of Taipei Arts Festival, a curator residency.



 

The Japan Foundation (JF)

JF is Japan’s only Institution dedicated to carrying out comprehensive international cultural exchange programs throughout the world.


On the occasion of the 50th Year of ASEAN-Japan Friendship and Cooperation (2023), JF will implement intensively over the next 10 years the “Partnership to Co-create a Future with the Next Generation: WA Project 2.0,” a comprehensive people-to-people exchange initiative that aims to promote exchange among the next generation and develop human resources in Japan and ASEAN.


Under this framework, JF will co-organize “Shifting Points” with Kyoto Experiment and BIPAM.



BIPAM

BIPAM (Bangkok International Performing Arts Meeting) is a platform dedicated to fostering connections, dialogue, and collaboration within the performing arts community in Thailand, Southeast Asia and connecting them to the broader worldwide regions. It serves as a space for networking among artists, producers, curators, and cultural organizations, offering opportunities to showcase contemporary performing arts, exchange ideas, and develop regional and international partnerships. BIPAM also focuses on nurturing emerging talents and creating a dynamic environment for exploring socio-political and cultural issues through artistic expression.


Kyoto Experiment

Kyoto Experiment is a performing arts festival held in Kyoto since 2010. Dedicated to producing and presenting experimental performing arts—both from Japan and overseas— the festival aims to explore and create new dialogues and values in society. Featuring experimental works that move freely between genres such as theater, dance, music and fine art, the festival hopes to open up new possibilities through the creations, experiences, and ideas that emerge from such a diverse combination.


This program is co-organized by BIPAM, Kyoto Experiment and the Japan Foundation.


For inquiries:


 

เทศกาลศิลปะการแสดงร่วมสมัยนานาชาติ BIPAM ร่วมด้วย เทศกาลศิลปะการแสดงร่วมสมัย Kyoto Experiment และเจแปนฟาวน์เดชั่น มีความยินดีที่จะประกาศ “Shifting Points” โครงการความร่วมมือในการบ่มเพาะเครือข่ายศิลปินศิลปะการแสดงร่วมสมัยในประเทศไทย ญี่ปุ่น และในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


BIPAM, Kyoto Experiment และเจแปนฟาวน์เดชั่น จะคัดเลือกกลุ่มศิลปินผู้สร้างผลงานการแสดงจากหลากหลายภูมิหลังในญี่ปุ่น ไทย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเข้าร่วมโครงการบ่มเพาะระยะเวลา 3 ปี กลุ่มผู้เข้าร่วมจะพบปะกันทั้งแบบออนไลน์และแบบออนไซต์ เพื่อขยายแนวทางการคิดและการปฏิบัติของตนเองผ่านการมีส่วนร่วมกับผู้ปฏิบัติงานด้านศิลปะการแสดงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งการรับรู้ถึงบริบททางสังคมและวัฒนธรรมของพื้นที่นั้นๆ โครงการนี้จะมุ่งเน้นการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ร่วมกันซึ่งจะนำไปสู่ผลลัพธ์ในรูปแบบการแสดง โดยตลอดโครงการจะมีทีมงานผู้เชี่ยวชาญคอยอำนวยความสะดวกและให้คำแนะนำ

 

กำหนดการเบื้องต้น

Phase 1 (2025)

  • กุมภาพันธ์: การปฐมนิเทศออนไลน์

  • มีนาคม (10-17): การวิจัยภาคสนาม การแลกเปลี่ยน และพัฒนาแนวคิดในกรุงเทพฯ พร้อมเข้าร่วม BIPAM 2025 โดยมีที่ปรึกษาโปรแกรมร่วมสนับสนุน

  • ตุลาคม: การวิจัยภาคสนาม การแลกเปลี่ยน และพัฒนาแนวคิดในเกียวโต พร้อมเข้าร่วม Kyoto Experiment 2025 โดยมีที่ปรึกษาโปรแกรมร่วมสนับสนุน

หมายเหตุ: กระบวนการอาจดำเนินต่อไปใน Phase 2 และ Phase 3 ระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม และตุลาคม 2026 รวมถึงเดือนมีนาคม 2027

(กระบวนการสมัครจะเริ่มใหม่ทุกปี และจะมีการคัดเลือกผู้เข้าร่วมใหม่ในแต่ละเฟสของโปรแกรมเพื่อให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของแต่ละช่วงเวลา)


คุณสมบัติของผู้เข้าร่วม

  • เป็นศิลปินหรือผู้ปฏิบัติงานด้านศิลปะที่สร้างผลงานเข้าข่ายศิลปะการแสดง อาศัยอยู่ในประเทศไทย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือญี่ปุ่น

  • มีความต้องการแรงบันดาลใจหรือการขยายขอบเขตการปฏิบัติงานของตนเองไปในมิติที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

  • มีความตั้งใจที่จะพยายามสื่อสารภาษาอังกฤษ (สำหรับการสนทนาเชิงลึกจะมีล่ามช่วยแปล)

  • ไม่จำกัดอายุ

  • มีความกระตือรือร้นในด้านต่อไปนี้

    • เปิดรับแรงบันดาลใจจากการวิจัยภาคสนาม

    • ขยายงานให้มีความเกี่ยวข้องกับประเด็นทางสังคมและการเมืองทั้งในระดับท้องถิ่นและภูมิภาค

    • เชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนกับผู้เข้าร่วมคนอื่นๆ

  • ผู้เข้าร่วมที่ได้รับการคัดเลือกจะต้องจัดทำรายงานผลการวิจัย (รูปแบบไม่จำเป็นต้องเป็นลายลักษณ์อักษร)

จำนวนผู้เข้าร่วมที่คัดเลือก: 6 คน (ไทย 2, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2, ญี่ปุ่น 2)


วิธีการสมัคร

กรุณากรอกแบบฟอร์มนี้ Application form

ภายในวันที่ 13 มกราคม 2025 (จันทร์), เวลา 23:59 (เวลาญี่ปุ่น)


ขั้นตอนการคัดเลือก

  • ทางผู้จัดจะแจ้งผลการพิจารณาจากเอกสารใบสมัครให้ผู้สมัครแต่ละคนทราบภายในวันที่ 15 มกราคม พร้อมทั้งแจ้งกำหนดการนัดหมายเพื่อสัมภาษณ์ออนไลน์

  • การสัมภาษณ์ออนไลน์จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 15 - 22 มกราคม

  • รายชื่อผู้เข้าร่วมที่ได้รับการคัดเลือกร่วมโครงการจะประกาศภายในสิ้นเดือนมกราคม

ผู้ได้รับเลือกเข้าร่วมโครงการจะได้รับการสนับสนุนค่าเดินทาง (ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ) ที่พัก ประกันการเดินทาง ค่าเบี้ยเลี้ยง (1,500 บาทต่อวัน สำหรับช่วงกิจกรรมในกรุงเทพฯ) สำหรับกิจกรรมที่จัดในสถานที่จริง (on-site activities)



 


Yuya Tsukahara (Facilitator)





หลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทด้านสุนทรียศาสตร์และการศึกษาศิลปะจากมหาวิทยาลัยคันไซกะกุอิน เขาเริ่มเข้าร่วม NPO DANCEBOX ในฐานะอาสาสมัครและต่อมาได้กลายเป็นสมาชิกทีมงาน ในปี 2006 เขาเริ่มทำกิจกรรมในฐานะศิลปินในฐานะสมาชิกของกลุ่มการแสดง contact Gonzo ในปี 2020 เขาได้รับรางวัล Best Staff Award จาก Yomiuri Theater Awards จากผลงานด้านการออกแบบฉากและการออกแบบท่าเต้นในละครเวทีเรื่อง Pratthana – A Portrait of Possession (ร่างของปรารถนา) ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เขามีส่วนร่วมในโครงการให้คำปรึกษาและการบรรยายในมหาวิทยาลัยหลายแห่งเพื่อส่งเสริมและพัฒนาศิลปินรุ่นใหม่ ปัจจุบันยูยะเป็นหนึ่งในผู้อำนวยการร่วมของเทศกาล Kyoto Experiment






Photo by: Takuya Matsumi




June Tan (Mentor)




จูน ทันเป็นโปรดิวเซอร์ นักเขียนบท และสมาชิกของกลุ่มศิลปะ Five Arts Centre ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ เธอสำเร็จการศึกษาด้านชีววิทยาจาก Imperial College of Science, Technology and Medicine และเคยทำงานในภาคธุรกิจขณะเดียวกันก็ทำงานด้านการจัดการเวที จัดการทัวร์การแสดง และการโปรดิวซ์ผลงานศิลปะมากมาย

ระหว่างปี 2018-2020 เธอทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการของ TPAM Performing Arts Meeting in Yokohama ซึ่งเป็นเวทีที่สะท้อนแนวคิดร่วมสมัยในเอเชีย นอกจากนี้ June ยังมีบทบาทสำคัญใน ReformARTsi ซึ่งเป็นกลุ่มเคลื่อนไหวที่มุ่งเปลี่ยนแปลงนโยบายศิลปะ และยังทำกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมร่วมกับ Gabungan Darurat Iklim Malaysia

นอกจากนี้ จูนยังมีบทบาทในการเขียนบทภาพยนตร์หลายเรื่อง เช่น Interchange, Spilt Gravy, Budak Flat, Housekeeping? และยังมีผลงานสำหรับแพลตฟอร์มต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น Astro, MediaCorp, Netflix, Disney+, Amazon Prime Video และ Viu Malaysia








Helly Minarti (Mentor)




เฮลลี่ มินาร์ติเกิดในกรุงจาการ์ตาและย้ายไปพำนักที่เมืองยอกยาการ์ตาในช่วงปลายปี 2018 ปัจจุบันเธอทำงานเป็นคิวเรเตอร์อิสระ ดรามาเติร์ก และนักวิชาการในสาขาศิลปะการแสดงร่วมสมัย เธอมุ่งพัฒนาแนวทางการเมืองและการปฏิบัติเชิงศิลปะไปในทิศทางที่ก้าวหน้าเสมอกัน โดยเชื่อมโยงกับทฤษฎีที่มีรากฐานมาจากประสบการณ์และประวัติศาสตร์


ด้วยแนวคิด curating-as-research หนึ่งในความสนใจหลักของเฮลลี่คือการศึกษาประวัติศาสตร์ของการออกแบบท่าเต้นในฐานะการปฏิบัติทางวาทกรรม รวมถึงความรู้เชิงผสมผสานที่ช่วยให้เข้าใจร่างกายมนุษย์ จิตสำนึก และธรรมชาติได้ดียิ่งขึ้น เธอร่วมคิวเรทในเทศกาลหลายแห่งและมีส่วนร่วมในการสร้างแพลตฟอร์มศิลปะ


โครงการคิวเรชั่นล่าสุดของเฮลลี่ ได้แก่ Jejak-旅Tabi Exchange: Wandering Asian Contemporary Performance (2018-2021) ซึ่งจัดขึ้นในสี่เมืองสำคัญของเอเชีย และ The Sea Within โดยเธอเป็นคนแรกที่ดำเนินโครงการ Cruising of Taipei Arts Festival ในรูปแบบคิวเรเตอร์ในพำนัก






 


เกี่ยวกับเจแปนฟาวน์เดชั่น (JF)

เจแปนฟาวน์เดชั่น (JF) เป็นองค์กรแห่งเดียวในญี่ปุ่นที่มุ่งเน้นการดำเนินโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างประเทศอย่างครอบคลุมทั่วโลก

เนื่องในโอกาส ครบรอบ 50 ปีแห่งมิตรภาพและความร่วมมืออาเซียน-ญี่ปุ่น (2023) JF ได้ริเริ่มโครงการ "Partnership to Co-create a Future with the Next Generation: WA Project 2.0" ซึ่งเป็นโครงการแลกเปลี่ยนระดับบุคคลที่ครอบคลุม โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนระหว่างคนรุ่นใหม่และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในญี่ปุ่นและกลุ่มประเทศอาเซียน

ภายใต้กรอบแนวคิดนี้ JF จะร่วมจัดโครงการ "Shifting Points" ร่วมกับ Kyoto Experiment และ BIPAM เพื่อสร้างความร่วมมือและเสริมสร้างศักยภาพผ่านการแลกเปลี่ยนทางศิลปะในภูมิภาค



เทศกาลศิลปะการแสดงร่วมสมัยนานาชาติ BIPAM เป็นเทศกาลที่มุ่งเน้นการสร้างความเชื่อมโยง การสนทนา และความร่วมมือในชุมชนศิลปะการแสดงทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมทั้งเชื่อมโยงไปยังภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลก BIPAM ทำหน้าที่เป็นพื้นที่สำหรับการสร้างเครือข่ายระหว่างศิลปิน โปรดิวเซอร์ คิวเรเตอร์ และองค์กรด้านวัฒนธรรม โดยมอบโอกาสในการนำเสนอผลงานศิลปะการแสดงร่วมสมัย แลกเปลี่ยนแนวคิด และพัฒนาความร่วมมือในระดับภูมิภาคและนานาชาติ นอกจากนี้ BIPAM ยังให้ความสำคัญกับการบ่มเพาะศิลปินรุ่นใหม่ และสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดการสำรวจประเด็นทางสังคม การเมือง และวัฒนธรรมผ่านการแสดงออกทางศิลปะอย่างมีพลังและสร้างสรรค์


Kyoto Experiment เป็นเทศกาลศิลปะการแสดงที่จัดขึ้นในเกียวโตตั้งแต่ปี 2010 โดยมุ่งเน้นการสร้างและนำเสนอผลงานศิลปะการแสดงเชิงทดลองทั้งจากญี่ปุ่นและต่างประเทศ เทศกาลนี้มีเป้าหมายเพื่อสำรวจและสร้างบทสนทนาและคุณค่าใหม่ๆ ในสังคม Kyoto Experiment นำเสนอผลงานที่ก้าวข้ามขอบเขตระหว่างประเภท เช่น การละคร การเต้นรำ ดนตรี และทัศนศิลป์ โดยหวังที่จะเปิดโอกาสใหม่ๆ ผ่านการสร้างสรรค์ ประสบการณ์ และแนวคิดที่เกิดขึ้นจากการผสมผสานอันหลากหลายเหล่านี้



โปรแกรมนี้จัดขึ้นร่วมกันโดย BIPAM, Kyoto Experiment และ เจแปนฟาวน์เดชั่น


สอบถามเพิ่มเติมได้ที่:

pointsshifting@gmail.com (ไทย อังกฤษ ญี่ปุ่น)




Comentários


bottom of page