top of page

Taste of Gugak: Either Fancy or Joyful [BIPAM Showcase]


by the National Gugak Center (South Korea)

โดย The National Gugak Center (ประเทศเกาหลีใต้)

15 November, 2018 20:00

15 พฤศจิกายน 2561 20:00 Venue: Art and Culture Building, Chulalongkorn University [click for map]

สถานที่: อาคารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [ดูแผนที่] The National Gugak Center (NGC) with the support of the Korean Cultural Center presents Taste of Gugak: Either Fancy or Joyful - a series of seven performances umbrella of "A Dialogue between the Past and the Present of Korean Music" project at BIPAM2018. The series offers the audience maximum variety in genres (dance, court music, folk song, percussion ensemble) through some of NGC's best-loved repertoires.

The National Gugak Centeris a national organisation devoted to preserve and promote UNESCO-registered Korean traditional music and dance. Its current mission is to introduce Korean traditional performing arts all over the world as one of special genres that has a thick tradition with refined modern language. Gugak(國樂) litterally means Korean music and dance.


The National Gugak Center (NGC) ด้วยการสนับสนุนจากศูนย์วัฒนธรรมเกาหลี จัดการแสดง Taste of Gugak: Either Fancy or Joyful อันประกอบด้วยการแสดงย่อยเจ็ดชุดภายใต้หัวข้อเกี่ยวกับ​ “การโต้ตอบระหว่างดนตรีเกาหลีในอดีตและปัจจุบัน” การแสดงชุดนี้จะมอบความตื่นตาตื่นใจให้กับผู้เข้าชมด้วยประเภทของการแสดงที่ครบครันภายในงาน BIPAM2018 (ได้แก่ การเต้นรำ การแสดงประกอบเพลง เพลงพื้นบ้าน การแสดงเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ การแสดงกลุ่ม) ผ่านบทเพลงที่ได้รับความนิยมสูงสุดของ NGC

The National Gugak Center เป็นองค์กรระดับประเทศที่ทุ่มเทให้กับการอนุรักษ์และสนับสนุนการเต้นรำและการดนตรีพื้นเมืองของประเทศเกาหลีที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับองค์กร UNESCO ภารกิจในปัจจุบันนี้คือการทำให้ศิลปะการแสดงพื้นเมืองของประเทศเกาหลีเป็นที่รู้จักทั่วโลกในฐานะที่เป็นหนึ่งในการแสดงชนิดพิเศษที่เปี่ยมไปด้วยเรื่องราวของประเพณีโดยใช้ภาษาสมัยใหม่ที่กลั่นกรองมาเป็นอย่างดี Gugak มีความหมายตรงๆ ว่าการเต้นรำและดนตรีเกาหลี



National Gugak Center is developing various repertoires as keeping the essence of the quality and formality of the tradition for its artistic value while adding some contemporary senses to appeal the public. Furthermore, the NGC finds more possibilities in the present and the future as one of the main instinct of Korean traditional performing arts are interaction and involvement of the audience that contemporary art persistently tries to achieve.

National Gugak Center ได้พัฒนาหลากหลายบทเพลงเพื่อคงคุณภาพและสร้างความคุ้นเคยต่อประเพณีเพื่อส่งต่อคุณค่าทางศิลปะ ในขณะเดียวกันก็ได้เพิ่มความรู้สึกร่วมสมัยบางอย่างเพื่อดึงดูดสาธารณชน ยิ่งไปกว่านั้น NGC พบว่ามีความเป็นไปได้ในปัจจุบันและอนาคตเนื่องจากหนึ่งในสัญชาตญาณหลักของศิลปะการแสดงพื้นเมืองเกาหลีนั้นต้องมีปฏิสัมพันธ์และมีส่วนร่วมกับผู้ชม ซึ่งศิลปะร่วมสมัยได้พยายามที่จะบรรลุเงื่อนไขข้อนี้อยู่เสมอ



BIPAM2018 invites you to get a taste of Gugak - let's see whether it's joyful or fancy!

BIPAM2018 ขอเชิญทุกท่านรับชมการแสดง Gugak แล้วมาลุ้นไปพร้อมๆ กันว่าการแสดงจะเปี่ยมไปด้วยความสุขหรืออยู่เหนือจินตนาการ!

1. Cheonnyeonmanse (7’)

Cheonnyeonmanse, literally meaning “Live Long, for a Thousand Years,” is a suite of three movements: gyemyeongarak dodeuri in an indolent feeling in medium tempo, yangcheong dodeuri in a motion of a brisk step in fast tempo, and ujogarak dodeuri in a mood similar to the first movement.

l Artist:: - Daegeum: LEE DAE SUNG/ -Piri: NA YOUNG SUN/ --Haegeum: BAN EUN JIN / -Geomungo: JANG YUN HYE/ Janggu: KIM BONG GEUN

คำว่า Cheonnyeonmanse ซึ่งแปลตรงๆ ได้ว่า “อายุมั่นขวัญยืนเป็นพันๆ ปี” นั้นเหมาะสำหรับการเคลื่อนไหวอันแบ่งเป็นสามจังหวะ ได้แก่ Gyemyeongarak Dodeuri ที่จะให้ความรู้สึกเรื่อยๆ เฉื่อยๆ ในจังหวะความเร็วปานกลาง Yangcheong Dodeuri เป็นการเคลื่อนไหวแบบเร็วในจังหวะที่เร็วและ Ujogarak Dodeuri ในอารมณ์ที่คล้ายๆ กับการเคลื่อนไหวแบบแรก

นักแสดง: Daegeum: LEE DAE SUNG/ -Piri: NA YOUNG SUN/ --Haegeum: BAN EUN JIN / -Geomungo: JANG YUN HYE/ Janggu: KIM BONG GEUN



2. Taepyungmu

“Taepyeongmu” was created as a dance performed by a king or queen in prayer for the prosperity of the royal household and a reign of peace. With its local rhythm originating from the “Gyeonggimuak”, the dance is performed in conjunction with the 32 beat dodanggut, often considered one of the most difficult rhythms in Korean traditional music which, in turn, requires skilled performers with a good knowledge of the rhythm.

l Artist: -Dancer: HONG BO HEE / -Bara: HAN JAE SEOK/ -kkwaenggwari: LEE JUN WOO/ -Janggu: KIM BONG GEUN/ - Jing: LEE JUNG WOO/ - Daegeum: LEE DAE SUNG/ -Gayageum: KIM HEE CHIN/ -Haegeum: BAN EUN JIN/ -Geomungo: JANG YUN HYE

“Taepyeongmu” ได้คิดค้นขึ้นมาให้เป็นการเต้นรำที่แสดงโดยกษัตริย์หรือราชินีในการอธิษฐานขอพรเพื่อความเจริญรุ่งเรืองของราชวงศ์และรัชสมัยแห่งสันติภาพ ด้วยจังหวะพื้นบ้านที่เกิดจาก “Gyeonggimuak” การเต้นรำนี่ได้แสดงร่วมกับ Dodanggut 32 บีต ซึ่งทุกคนมักจะมองว่าเป็นจังหวะที่ยากที่สุดในการแสดงดนตรีพื้นบ้านของเกาหลี ดังนั้นจึงต้องใช้นักแสดงที่มากประสบการณ์และมีความรู้เกี่ยวกับจังหวะเป็นอย่างดี

นักแสดง: -Dancer: HONG BO HEE / -Bara: HAN JAE SEOK/ -kkwaenggwari: LEE JUN WOO/ -Janggu: KIM BONG GEUN/ - Jing: LEE JUNG WOO/ - Daegeum: LEE DAE SUNG/ -Gayageum: KIM HEE CHIN/ -Haegeum: BAN EUN JIN/ -Geomungo: JANG YUN HYE



3. <Chunhyangga>, ‘Sarangga’

Normally, Pansori is a solo performance where the performer acts and sings as many different characters in one story. Since 1902, it has been developed as Ipchechang (solid pansori) where more than two singers show up on the stage and sing as each character. <Chunhyangga> is among the most popular pansori pieces, and ‘Sarangga’ is a love song between a humble woman and a noble man.

l Artist: - Pansori: HEO JUNG SEUNG, OH HYE WON/ - Buk(Drum): KIM JU WON/ - Daegeum: LEE DAE SUNG/ -Gayageum: KIM HEE CHIN/ -Geomungo: JANG YUN HYE

โดยปกติแล้ว Pansori จะเป็นการแสดงเดี่ยวที่นักแสดงจะต้องทำท่าทางและขับร้องด้วยบุคลิกที่หลากหลายในบทละครเรื่องหนึ่ง ตั้งแต่ปี 1902 เป็นต้นมา การแสดงนี้ได้พัฒนามาเป็น Ipchechang (Solid Pansori) ซึ่งจะมีนักร้องมากกว่าสองคนอยู่บนเวทีและร้องเพลงโดยแต่ละคนจะแสดงเป็นตัวละครแต่ละตัว <Chunhyangga> คือการแสดง Pansori ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด และ ‘Sarangga’ คือเพลงรักเพลงหนึ่งที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสตรีผู้ซึ่งถ่อมตัวกับบุรุษชั้นสูง

นักแสดง: - Pansori: HEO JUNG SEUNG, OH HYE WON/ - Buk(Drum): KIM JU WON/ - Daegeum: LEE DAE SUNG/ -Gayageum: KIM HEE CHIN/ -Geomungo: JANG YUN HYE


4. Gayageum Sanjo

Sanjo is a genre of solo instrumental music accompanied by a rhythmic instrument like janggu or buk. There are several sanjo schools that are characterized by having melodic and rhythmic distinctiveness developed by a particular master artist. <KimByungho school- Gayageum Sanjo> express various emotions through different rhythmic cycles. It starts with sad and heartbreaking melodies in the slowest rhythmic cycle and gradually speeds up with a more cheerful mood in the following rhythmic cycles. Thus it requests hard training and perfect skills for the player.

l Artist: Gayageum: KIM HEE CHIN/ -Janggu: KIM JU WON

Sanjo คือการแสดงดนตรีเดี่ยวประเภทหนึ่งที่จะแสดงไปพร้อมกับเครื่องดนตรีประกอบจังหวะอย่าง Janggu หรือ Bak มีโรงเรียน Sanjo หลายแห่งที่โดดเด่นด้วยความแตกต่างทางท่วงทำนองและจังหวะซึ่งพัฒนาโดยศิลปินต้นแบบ <KimByungho school- Gayageum Sanjo> ได้แสดงออกถึงอารมณ์ที่หลากหลายผ่านรอบจังหวะที่แตกต่างกัน เพลงดังกล่าวได้เริ่มจากท่วงทำนองที่เศร้าโศกและช้ำใจ ในรอบจังหวะที่ช้าที่สุดและค่อยๆ เร่งจังหวะเร็วขึ้นด้วยอารมณ์ที่สนุกสนานในรอบจังหวะต่อมา ดังนั้นการแสดงนี้จึงต้องใช้การฝึกฝนอย่างหนักและทักษะที่ยอดเยี่ยมของผู้เล่น

นักแสดง: Gayageum: KIM HEE CHIN/ -Janggu: KIM JU WON


5. <Samdo Nongak>

Samulnori literally meaning, ‘the play of four things”, is a type of percussion music performed on four instruments.: ggwaengwari (small brass gong), janggu (hourglass drum), buk (barrel drum), and jing (mediumsizes gong). The performance demonstrates the unique rhythmic patterns of Korean music in excellent techniques and colorful beats in alternation between loose and tight rythms. <Samdo Nongak Garak> is combined with three different local Nongak styles in southern part of Korea.

l Artist: : -Jing: HAN JAE SEOK/ -kkwaenggwari: LEE JUN WOO/ -Buk: KIM BONG GEUN/ - Janggu: LEE JUNG WOO

คำว่า Samulnori ซึ่งแปลตรงๆ ได้ว่า “การละเล่นของของสี่อย่าง” นั้นคือการแสดงประเภทหนึ่งของเครื่องดนตรีประกอบจังหวะที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรี 4 ชนิด อันได้แก่ Ggwaengwari (ฆ้องทองเหลืองขนาดเล็ก) Janggu (กลองรูปทรงนาฬิกาทราย) Buk (กลองที่มีลักษณะเหมือนถังน้ำมัน) และ Jing (ฆ้องขนาดกลาง) การแสดงนี้ได้มอบรูปแบบจังหวะที่เป็นเอกลักษณ์ของดนตรีเกาหลีด้วยเทคนิคที่ยอดเยี่ยมและบีตที่สดใสในช่วงของการเปลี่ยนจากจังหวะหลวมๆ เป็นจังหวะที่กระชับ <Samdo Nongak Garak> ประกอบด้วยสไตล์ Nongak พื้นเมืองที่แตกต่างกันสามแบบในทางตอนใต้ของประเทศเกาหลี

นักแสดง: -Jing: HAN JAE SEOK/ -kkwaenggwari: LEE JUN WOO/ -Buk: KIM BONG GEUN/ - Janggu: LEE JUNG WOO


6. Arirang Medley

Arirang has been sung by Korean people as a representative folk song of Korea. People have expressed their honest feelings about their lives through the song which has been passed down orally. The time of composition and the composer are not known, and there are no fixed forms or scores. It has been called in various names in different regions. Arirang, is proclaimed as UNESCO Masterpieces of the Oral and Intangible Heritage of Humanity in 2012. In BIPAM2018, different versioins of Arirang sung in different regions will be performed.

l Artist: - Singer: JI SUN HWA, OH HYE WON/ - - Daegeum: LEE DAE SUNG/ -Gayageum/ --Piri: NA YOUNG SUN/- Gayageum: KIM HEE CHIN/ -Haegeum: BAN EUN JIN/ -Geomungo: JANG YUN HYE/ - Janggu: HEO JUNG SEUNG

ชาวเกาหลีได้ร้องเพลง Arirang ในฐานะที่เป็นตัวแทนเพลงพื้นบ้านของประเทศเกาหลี ผู้คนได้แสดงความรู้สึกจริงใจเกี่ยวกับชีวิตผ่านทางเพลงนี้ที่ได้ส่งกันต่อๆ มาผ่านการท่องจำ ไม่มีใครทราบว่าช่วงเวลาของการแต่งเพลงนี้คือเมื่อไหร่และผู้แต่งเพลงนี้เป็นใคร เนื่องจากเพลงนี้ไม่ได้มีรูปแบบหรือโน้ตเพลงที่ตายตัว เพลงนี้ได้เรียกด้วยชื่อที่แตกต่างกันไปตามแต่ละภูมิภาค Arirang ได้รับการยกย่องว่าเป็น UNESCO Masterpieces of the Oral and Intangible Heritage of Humanity ในปี 2012 ในงาน BIPAM2018 นี้ นักแสดงจะร้องเพลง Arirang ในเวอร์ชั่นต่างๆ ที่แตกต่างกันไปตามแต่ละภูมิภาคให้เราได้รับชม

นักแสดง: - Singer: JI SUN HWA, OH HYE WON/ - - Daegeum: LEE DAE SUNG/ -Gayageum/ --Piri: NA YOUNG SUN/- Gayageum: KIM HEE CHIN/ -Haegeum: BAN EUN JIN/ -Geomungo: JANG YUN HYE/ - Janggu: HEO JUNG SEUNG





About the National Gugak Center

Music has long been a means whereby traditional culture in Korea has been passed down. It is an accumulation of "five-thousand years" of our life, philosophies, and culture itself. In this sense, music is a "window" through which we can understand Korean culture and history.

National Gugak Center has been the primary institution to perform and perpetuate traditional music for more than one thousand years. The roots of National Gugak Center can be traced back to the Royal Music Institute of the Silla Dynasty (BC 57~AD 935). Through the intervening dynasties, the royal music institutes have played a key role to preserve not only court music but also many other genres of traditional performing arts. Since the establishment of National Gugak Center in 1951, it has preserved and promoted Korean traditional music at home and abroad.

National Gugak Center will continue to creatively inherit and cultivate traditional performing art forms filled with the philosophy of a pure Korean art tradition - a belief that we must strive for a peaceful life which can be achieved in a world without war, prejudice, or pollution; where heaven, earth, mankind, and all creatures harmonize. In addition to promoting the arts of our own country, we are committed to support other cultural arts of the world. To this end, we will put forth our best efforts to satisfy humankind's eternal desire for happiness and to achieve an open global community.


เกี่ยวกับ National Gugak Center

ดนตรีได้เป็นวิธีหนึ่งที่ประเทศเกาหลีใต้ใช้เพื่อถ่ายทอดวัฒนธรรมดั้งเดิมที่เป็นการเก็บสะสมมา “ห้าพันปี” แห่งชีวิต ปรัชญาและวัฒนธรรม หากพูดถึงในที่นี้ ดนตรีก็คือหน้าต่างที่เปิดสู่โลกของวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของประเทศเกาหลี National Gugak Center ได้เป็นสถาบันหลักที่จัดการแสดงและทำให้ดนตรีพื้นบ้านเป็นอมตะมานานกว่าหนึ่งพันปี รากฐานของ National Gugak Center สามารถย้อนกลับไปในสมัยของ Royal Music Institute of the Silla Dynasty (57 ปีก่อนคริสตกาล-ค.ศ. 935) สถาบันดนตรีสำหรับเชื้อพระวงศ์ได้เป็นแกนหลักในการอนุรักษ์ โดยไม่ใช่แต่เพียงการแสดงประกอบดนตรีเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการแสดงประเภทอื่นๆ ภายใต้ศิลปะการแสดงพื้นบ้านอีกด้วย นับตั้งแต่การก่อตั้ง National Gugak Center ในปี 1951 ทางศูนย์ได้อนุรักษ์และสนับสนุนเพลงพื้นเมืองของเกาหลีทั้งภายในประเทศและต่างประเทศมาโดยตลอด

National Gugak Center จะดำเนินการต่อไปเพื่อสืบทอดและปลูกฝังรูปแบบศิลปะการแสดงแบบดั้งเดิมที่เต็มไปด้วยปรัชญาของประเพณีทางศิลปะอันบริสุทธิ์ของประเทศเกาหลี ความเชื่อที่ว่าเราจะต้องมุ่งมั่นทำทุกอย่างเพื่อให้มีชีวิตที่สงบสุขนั้นจะเป็นไปได้ในโลกที่ปราศจากสงคราม อคติหรือมลพิษ ในที่ที่สวรรค์ โลก มนุษย์และสรรพสิ่งทุกสิ่งอย่างสามัคคีกัน นอกเหนือไปจากการสนับสนุนทางศิลปะของประเทศชาติของเราเองแล้ว เรายังมีความมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนศิลปะวัฒนธรรมของโลกอีกด้วย มาจนถึงตอนนี้ เราได้มุมานะอย่างที่สุดในการตอบสนองความปรารถนาอันเป็นนิรันดร์ของมวลมนุษยชาติเพื่อความสุขและเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเป็นชุมชนไร้พรมแดนที่เปิดกว้างต่อไป



bottom of page