top of page

The Romanian Theatre Director Radu Afrim and his Fabric of Fragility [Table Meeting A1]

by Cristina Rusiecki (Romania)


Table Meeting A1 13:30 - 14:00

Room 320 Chamchuri 10 Bldg.


Radu Afrim ผู้กำกับชาวโรมาเนีย และโครงใยแห่งความเปราะบางของเขา

โดย Cristina Rusiecki (โรมาเนีย)


โต๊ะพูดคุย A1 เวลา 13:30 - 14:00

ห้อง 320 อาคารจามจุรี 10



WHO IS RADU AFRIM AND WHY IS HE IMPORTANT?

RADU AFRIM คือใคร และทำไมเขาจึงสำคัญ

Radu Afrim is not only the favorite director of the Romanian average audience, he is also the favorite director of many theatre critics. In the past years, he “officially” became a recognized value of the Romanian Theatre. His recognition was not limited only to Romania, gradually gaining fame in Europe as well.

Radu Afrim ไม่ได้เป็นเพียงผู้กำกับที่เป็นที่ชื่นชอบของผู้ชมชาวโรมาเนียทั่วไปเท่านั้น เขายังเป็นผู้กำกับคนโปรดของนักวิจารณ์หลายคนเช่นกัน หลายปีที่ผ่านมา เขากลายเป็นที่รู้จักในฐานะเป็นคนสำคัญของละครโรมาเนียอย่าง “เป็นทางการ” ชื่อเสียงของเขาไม่ได้จำกัดอยู่ในโรมาเนียเท่านั้น แต่ยังค่อย ๆ เลื่องลือในยุโรปด้วย

In 2008 he was awarded the Coup de Coeur de la Presse Prize at the Avignon Theatre Festival (Off), for the performance Mansarde à Paris ou les détours Cioran directed in Luxemburg. In 2009, the KULTURFORUM Europe Foundation from Germany awarded him the Prize for European Cultural Accomplishments.

ในปี 2008 เขาได้รับรางวัล Coup de Coeur de la Presse Prize จากเทศกาล Avignon Theatre Festival (Off) จากการแสดง Mansarde à Paris ou les détours Cioran ที่จัดขึ้นในลักเซมเบิร์ก และในปี 2009 มูลนิธิ KULTURFORUM Europe Foundation ในเยอรมนี ได้มอบรางวัล European Cultural Accomplishments ให้กับเขา


How can Radu Afrim’s success be explained? In all honesty, he is one of the few theatre directors to change the face of the Romanian theatre of the past decade. Ever since his debut, he has been a creator with a distinct vision. His theatrical universe is always recognizable. The space he creates, with delicate slides outside the real, or “reality supplements”, as the artist likes to call them in his interviews, is unmistakable. His slightly grotesque humor, more often than not, a humor of delay, with infusions of surrealist vapors, is always doubled by the unexpressed vulnerability of the (anti)heroes. His playful theatre, an indeterminate blend of innocence and derision, guarantees an escape from everyday life.

หากจะอธิบายความสำเร็จของ Radu Afrim แล้วนั้น กล่าวตามตรงได้ว่า เขาเป็นหนึ่งในผู้กำกับไม่กี่คนที่เปลี่ยนโฉมหน้าของละครเวทีโรมาเนียในช่วงสิบปีที่ผ่านมา นับแต่การเปิดตัวครั้งแรก เขาก็ได้เป็นนักสร้างสรรค์ที่มีวิสัยทัศน์โดดเด่น จักรวาลในการละครของเขาเป็นที่จดจำเสมอ พื้นที่ที่เขาสรรค์สร้างด้วยภาพอันละเอียดลออเหนือความเป็นจริง หรือที่ตัวเขาเองเรียกว่า “ส่วนเสริมของความจริง” นั้นมีความโดดเด่นอย่างมาก อารมณ์ขันที่ค่อนข้างประหลาดของเขา ซึ่งมักมาในรูปอารมณ์ขันอันล่าช้า ผสมกับกลิ่นไอของความเซอร์เรียล มักเข้มข้นอีกเป็นเท่าตัวด้วยแง่มุมแห่งความเปราะบางที่เก็บงำไว้ของตัวเอกของเรื่อง ละครขี้เล่นของเขาจึงเป็นการผสมผสานอย่างไม่จำกัดของความไร้เดียงสาและความเย้ยหยัน ที่ช่วยรับรองว่าผู้ชมจะได้หลีกหนีจากชีวิตประจำวันอย่างแน่นอน

Radu Afrim is also an important visual artist due to his photos. and second, in presenting the volume dedicated to his theatre performances. The book Radu Afrim. The Fabric of Fragility is an album translated in English language, fully illustrated with pictures from the theatrical universe of the director.

นอกจากนี้ Radu Afrim ยังเป็นศิลปินทัศนศิลป์ที่สำคัญอีกด้วย ทั้งจากผลงานภาพถ่ายของเขา และการนำเสนอหนังสือที่รวบรวมผลงานละครเวทีของเขาเอง หนังสือ Radu Afrim. The Fabric of Fragility เป็นหนังสือภาพที่แปลเป็นภาษาอังกฤษ ที่มีภาพประกอบทั้งเล่มจากจักรวาลในละครเวทีของผู้กำกับคนนี้



CRISTINA RUSIECKI

Cristina Rusiecki is a theatre critic and arts and culture journalist. She is a graduate of both the Faculty of Letters and the Faculty of Theatre Studies, and in 2007 she was awarded a PhD in Theatre Studies for her thesis entitled “The Theatre of Cruelty and the Romanian Plays of the Last Decade”. She began her career as an arts and culture journalist at the ProTV television channel. In 2001, she began publishing regular theatre reviews. In 2016, together with three colleagues, she founded the cultural magazine B-Critic.

Cristina Rusiecki คือเป็นนักวิจารณ์ละครเวทีและนักข่าวศิลปวัฒนธรรม เธอจบการศึกษาจากทั้งคณะอักษรศาสตร์และการละครศึกษา ในปี 2007 เธอสำเร็จการศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิตจากวิทยานิพนธ์ด้านการละครศึกษาในหัวข้อ “การละครแห่งความโหดร้ายกับละครโรมาเนียในทศวรรษล่าสุด” จากนั้นเธอเริ่มอาชีพนักข่าวศิลปวัฒนธรรมที่ช่องโทรทัศน์ ProTV และในปี 2001 บทวิจารณ์ละครเวทีของเธอเริ่มได้ตีพิมพ์อย่างสม่ำเสมอ ต่อมาในปี 2016 เธอและเพื่อนร่วมงานสามคนได้ก่อตั้งนิตยสารวัฒนธรรมที่ชื่อ B-Critic

In 2013 she published Despre dictatori și alți demoni. Julius Caesar. Jurnal de repetiții, ATENT, Timișoara National Theatre. She also wrote the chapter “The Hungarian State Theatre in Cluj” for the German-language collective work Das rumänische Theater nach 1989: seine Beziehungen zum deutschsprachigen Raum, Frank & Timme, Berlin, 2010, and the chapters “Alexander Hausvater – Shakespeare. An X-ray of power” and “Bocsárdi László – Shakespeare or on the poetry of the irrational” for the collective work Lecția de Shakespeare, the I. L. Caragiale National Theatre Association, 2014.

ปี 2013 เธอจัดพิมพ์หนังสือ Despre dictatori și alți demoni. Julius Caesar. Jurnal de repetiții, ATENT, Timișoara National Theatre และเขียนบทความหัวข้อ “The Hungarian State Theatre in Cluj” ในหนังสือรวมเรื่องภาษาเยอรมันที่ชื่อว่า Das rumänische Theater nach 1989: seine Beziehungen zum deutschsprachigen Raum โดย Frank & Timme, Berlin, 2010 นอกจากนั้น ยังเขียนบทความที่ชื่อว่า “Alexander Hausvater – Shakespeare. An X-ray of power” และ “Bocsárdi László – Shakespeare or on the poetry of the irrational” ให้แก่หนังสือรวมงานเขียนเรื่อง Lecția de Shakespeare โดย the I. L. Caragiale National Theatre Association, 2014


In 2015, she wrote the case study “How I came to Cock” and a chapter on the director Carmen Lidia Vidu, “I never ask myself what the author wanted to say” for the bilingual collective work The Young Theatre Artist. Recent Romanian Histories, Timpul. In 2016 she wrote the chapter on the theatre director Cristi Juncu, for the bilingual collective work The Romanian Theatre Directing, from Authorship to Collaborative Practices, Timpul. In 2017 she contributed with the chapter One Foot and A Half in the Virtual World and the Rest tn The Real One at the bilingual collective work Romanian Theatre Today. New Horizons. Since May 2017 she has worked as artistic consultant at Nottara Theatre in Bucharest.


ในปี 2015 เธอเขียนกรณีศึกษาเรื่อง “How I came to Cock” และเขียนบทความเกี่ยวกับผู้กำกับ Carmen Lidia Vidu ในหัวข้อ “I never ask myself what the author wanted to say” ให้แก่หนังสือรวมเล่มสองภาษาเรื่อง The Young Theatre Artist. Recent Romanian Histories โดยนิตยสาร Timpul ต่อมาในปี 2016 เธอเขียนบทความเกี่ยวกับผู้กำกับ Cristi Juncu ให้แก่หนังสือรวมเล่มสองภาษาเรื่อง The Romanian Theatre Directing, from Authorship to Collaborative Practices, Timpul และในปี 2017 เธอเขียนบทความชื่อว่า One Foot and A Half in the Virtual World and the Rest tn The Real One ให้แก่หนังสือรวมงานเขียนสองภาษา Romanian Theatre Today. New Horizons และตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2017 เธอเป็นที่ปรึกษาฝ่ายศิลป์ที่โรงละคร Nottara ในบูคาเรสต์

bottom of page