top of page
bipam Sea_200701-07.jpg
Tan Cher Kian CK.jpg

Indonesia

Salihara Arts Center

Rebecca Kezia is actively working as performing arts producer and curator for several projects with organisations in Indonesia and independent artists. She is currently working as education and discourses program manager in Komunitas Salihara Arts Centre in Jakarta and as co-curator in Indonesian Dance Festival. Her main focus of work is to develop a network and bridge new audiences with art, especially performing arts, through various activities, such as discussion, research and archive displays on Indonesian plays, and alternative art education.


ปัจจุบัน Rebecca Kezia ทำงานเป็นทั้งโปรดิวเซอร์งานศิลปะการแสดง และเป็นผู้ดูแลรวบรวมและสร้างสรรค์เนื้อหาสำหรับโปรเจ็คมากมายกับหลายองค์กรและทั้งกับศิลปินอิสระในอินโดนีเซีย ช่วงนี้เธอกำลังทำงานในฐานะผู้จัดการการศึกษาและจัดการ discourses program ให้กับ Komunitas Salihara ซึ่งเป็นศูนย์ศิลปะในกรุงจาการ์ตา เธอยังร่วมดูแลเนื้อหาให้กับงาน Indonesia Dance Festival อีกด้วย สิ่งที่เธอสนใจหลัก ๆ ในการทำงานคือการพัฒนาเครือข่ายและสร้างสะพานเชื่อมผู้ชมใหม่กับตัวศิลปะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านศิลปะการแสดง เธอใช้หลากหลายกิจกรรม อย่างเช่น การถกเถียงอภิปราย การแสดงงานวิจัยและการเก็บข้อมูลละครอินโดนีเซีย และการศึกษาศิลปะทางเลือก

Producer

Rebecca Kezia

1 Malaysia SEA flag.png
Tan Cher Kian CK project 1.jpg

Salihara Arts Centre is a multi-disciplinary arts centre located in Jakarta, Indonesia. Initially begun in Utan Kayu as a place for social and political activism along with art practice in the time of military regime in Indonesia. Since 2008, Salihara has opened to the public for contemporary and alternative art forms, from performing arts, visual arts to classes and discussions. Beside presenting works of Indonesian artists, Salihara also presents and exhibits works from all over the world and started to produce its work in collaboration with artists. In response to its vision and mission to maintain freedom of expression with the public, the education and discourses program play a very crucial role not only in building a new bridge for a broader audience, but also advancing artists and arts practitioners. Through classes and discussions, we have created a certain way to communicate the idea of art as a useful tool for daily life and for creating an inclusive society. Artists are also invited to take part to spread this vision and expand its way of creative process. As a response to the pandemic, education and discourse programs have a lot of potential to be developed and to reach more people, especially those who have never encountered the arts. The limitation of doing programs in Salihara's sites has led us to creatively adapt and think out of the box to maintain the programs, such as Stay Art Home programs—the online programs of Salihara Arts Centre—and many other online discourses and education for the public.

Salihara Arts Centre เป็นศูนย์ศิลปะที่รวบรวมศิลปะหลากหลายแขนงซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เริ่มแรกก่อตั้งที่ Utan Kayu สำหรับเป็นสถานที่ให้จัดกิจกรรมทางการเมืองและเพื่อสังคม ควบคู่ไปกับการสร้างสรรค์งานศิลปะในช่วงที่อินโดนีเซียถูกปกครองโดยทหาร ตั้งแต่ปี 2008 Salihara เปิดเป็นสถานที่สาธารณะสำหรับการจัดแสดงศิลปะร่วมสมัย ศิลปะแบบรูปแบบทางเลือกอื่น ศิลปะการแสดง ผลงานทัศนศิลป์ ห้องเรียนทัศนศิลป์ รวมถึงจัดงานเสวนาทางศิลปะ
นอกเหนือจากการจัดแสดงผลงานโดยศิลปินชาวอินโดนีเซีย Salihara ยังจัดแสดงผลงานศิลปะจากทั่วโลกและเริ่มที่จะผลิตผลงานด้วยการร่วมมือกับศิลปินหลากหลาย เพื่อให้ตอบสนองพันธกิจและวิสัยทัศน์ของ Salihara ที่ว่าจะดำรงไว้ซึ่งเสรีภาพในการแสดงออกของสาธารชน การศึกษานอกและในระบบจากศูนย์ศิลปะSalihara ไม่เพียงแต่ทำหน้าที่สำคัญในการสร้างสะพานเชื่อมความสัมพันธ์ให้แก่ผู้ชมอย่างกว้างขวางขึ้น แต่ยังยกระดับศิลปินให้พัฒนาได้ไกลที่สุด ระหว่างชั้นเรียนและงานอภิปราย เราประดิษฐ์วิถีในการสื่อสารแนวคิดศิลปะในฐานะเครื่องมือที่มีประโยชน์ในชีวิตประจำวันและในการสร้างสังคมที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

ศิลปินได้รับเชิญมามีส่วนร่วมในการกระจายวิสัยทัศน์นี้และขยายหนทางในกระบวนการสร้างสรรค์ให้กว้างขวางขึ้น ผลกระทบจากสถานการณ์โรคระบาดทำให้ชั้นเรียนที่ Salihara และการศึกษาผ่านโปรแกรมดิสคอร์สมีศักยภาพในการพัฒนาและเข้าถึงคนมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มคนที่ไม่ได้สัมผัสศิลปะเป็นปกติ ข้อจำกัดของการสร้างบทเรียนบนเว็บของ Salihara ได้นำพาพวกเราให้ปรับตัวอย่างสร้างสรรค์ คิดนอกกรอบเพื่อให้โปรแกรมบทเรียนเหล่านี้ยังมีอยู่ เช่น Stay Art Home programs ซึ่งเป็นห้องเรียนออนไลน์ของ Salihara Arts Centre รวมถึงห้องเรียนออนไลน์อื่น ๆ อีกมากมายที่เปิดสำหรับคนทุกคน

Tan Cher Kian CK project 1.jpg

Indonesian Dance Festival is one the longest running performing arts festivals in Indonesia. It has consistently created an ecosystem to support dance practitioners through its festival programs along with the education and public discussion programs. I have joined the team of curators for IDF 2020 since last year. Although my involvement in this festival is relatively recent, I have seen and experienced the most fascinating way to connect and work collaboratively with choreographers and dance intellectuals, most importantly young and emerging choreographers. IDF has created its program called Kampana for young choreographers as a place to research and work closely with curators and experts in their creative process. But the festival this year is surely facing a very different approach and must adapt in the time of creating and collaborating remotely. Despite all the challenges, the team of this festival are learning a lot of new things and will go on with the new form of dance festival.

Indonesian Dance Festival (IDF) คือหนึ่งในเทศกาลศิลปะการแสดงที่มีมายาวนานจนถึงปัจจุบันของประเทศอินโดนีเซีย เทศกาลนี้สร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมนักเต้นผ่านโปรแกรมในเทศกาล พร้อมด้วยการให้การศึกษาและการอภิปรายอย่างเปิดกว้างกับสาธารณชน

ฉันเข้าร่วมทีม curator ของเทศกาล IDF 2020 ตั้งแต่ปีที่แล้ว แม้ว่าการมีส่วนร่วมของฉันในเทศกาลนี้เพิ่งจะเริ่มต้นขึ้น แต่ฉันก็ได้เห็นและพบเจอกับวิธีการที่น่าหลงใหลที่สุดในการสร้างความสัมพันธ์และทำงานร่วมกันกับนักออกแบบท่าเต้นและผู้เชี่ยวชาญด้านการเต้น ที่อายุน้อยและเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่
IDF สร้างโปรแกรมที่ชื่อว่า Kampana สำหรับนักออกแบบท่าเต้นรุ่นเยาว์เพื่อเป็นพื้นที่สำหรับการวิจัยและทำงานอย่างใกล้ชิดกับ curator และผู้เชี่ยวชาญในกระบวนการสร้างสรรค์งาน แต่ในปีนี้ แน่นอนว่าเทศกาลกำลังเผชิญกับแนวทางที่แตกต่างออกไปและจำเป็นต้องปรับตัวเวลาสร้างสรรค์ผลงานและร่วมมือกันจากทางไกล แม้ว่าจะเจอความท้าทายทั้งหมดนี้ ทีมงานของเทศกาลกลับได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ มากมายและจำดำเนินการเทศกาลเต้นต่อไปในรูปแบบใหม่

bottom of page