top of page

This week we're visiting Laos




BIPAM's Under the SEA webinar series is compiling real personal narratives of Southeast Asia’s performing arts. Coming up at the end of this week we'll have the line-up of speakers for September, so stay tuned. Before that, we're saying ສະບາຍດີ! (sabaidi = Hello) to the only landlocked country in SEA, our dear neighbor, Laos.


*Please note that this week’s webinar will be conducted in Thai / Laotian with English translation




BIPAM Under The Sea เว็บบินาร์ซีรี่ส์ที่รวบรวมเรื่องเล่าจากศิลปินและบุคลากรในสายงานศิลปะการแสดงไว้ครบทุกประเทศใน SEA จริงๆ ปลายสัปดาห์นี้มาแน่นอนกับรายชื่อ speaker อีก 4 ประเทศของเดือนกันยายน ก่อนจะไปถึงตรงนั้น เรามาทักทายเพื่อนบ้านที่น่ารักของเรา ประเทศลาว ประเทศไม่มีทางออกสู่ทะเลหนึ่งเดียวใน SEA


(เว็บบินาร์ของอาทิตย์นี้จะดำเนินเป็นภาษาไทย/ลาว โดยมีแปลอังกฤษ)



 


This week's Speakers

Click an image to see their full profile

























































 


Moderator's Intro to Week 4: Laos




คนมักจะพูดกันติดปากว่า “ไทยลาวเป็นพี่น้องครอบครัวเดียวกัน แยกกันไม่ขาดหรอก” ภาษาพูดที่เราใช้ก็แทบจะเข้าใจความกันหมด อย่างไรก็ตาม ในฐานะคนไทยคนหนึ่ง เรารู้สึกโหยหาการสัมผัสพี่น้องคนนี้ในฐานะมนุษย์คนหนึ่งด้วยกัน ว่านดีใจมากๆ ที่ได้ใช้โอกาสนี้ฟังเสียงของพี่น้องของเราอย่างแท้จริง ว่าอะไรคือแพสชั่น อะไรคือสิ่งที่เขาต้องดิ้นรนในฐานะคนทำงานศิลปะ แม้ว่าทั้งสามจะทำงานแตกต่างกัน เราหวังว่าเราจะได้รู้จักตัวตนของเขามากขึ้นผ่าน generation การปรับตัวในการทำงาน และการต่อรองระหว่างรัฐกับเอกชนในประเทศ ผู้เล่นในงานศิลปะทั้งในและต่างประเทศที่เขาต้องพบปะ ในการสนทนาอย่างเป็นกันเองวันเสาร์นี้


- สิรี ริ้วไพบูลย์, ผู้นำเสวนา




 


Audience Feedback


While the webinars themselves focus on our friends around Southeast Asia, it's lovely to be reminded that we have friends all around the globe. Thank you for this wonderful feedback from one of our friends in Hungary.


ขอขอบคุณ feedback จากเพื่อนเราจากฮังการี











 


Summary of Week 3: Indonesia


In case you can't join the live chat each week, we aim to bring you a recap of the key points from the previous discussion in each weekly newsletter.


Here is the summary of the Indonesia webinar by session moderator, Amitha Amranand:


In the Indonesian session, we glimpsed some of the challenges faced by a large island nation where the art scenes are concentrated in just a few cities and domestic travel is costly, making access and connection among artists more complicated.
It’s nice to see, however, that during the pandemic when so much of our interaction have moved online, artists are reaching out and connecting even more within their own countries and region. As the panelists reported, conversations among those in the arts are taking place more than ever before in Indonesia. The Indonesian panelists have also shown us that artistic experimentation and even activism are flourishing online. And there’s greater knowledge distribution and access.
I see strong parallels between Indonesian and Thai performing arts scenes in regards to government funding, community, and criticism:
Like Indonesia, most Thai artists have scraped by with little to no government funding. It seems to be a subject that artists laugh about in both countries, but in Thailand, with new organizations and festivals by the new generation of artists and art administrators, the conversation on this subject has gotten more serious and constructive in the past few years.
Although, I’m not sure Thais would say that the spirit of gotong royong (collaboration, cooperation) is in our blood, but the formation of the Bangkok Theatre Network (BTN) and the Bangkok Theatre Festival (BTF) and the kind of performing arts community that developed as a result of it in Thailand, especially Bangkok, have undoubtedly contributed to the growth of the performing arts scene here in the past two decades.
According to the panelists, performing arts criticism and media coverage are sorely lacking in Indonesia and is needed for the growth of the performing arts. I’m not sure it feels as dire in Thailand, but the performing arts and performing arts criticism are certainly not growing at the same rate. I’m glad this topic was brought up as I think critics are an important part of the ecosystem.
Taboo topics vary from place to place, but in this region, it’s impossible for people in the arts to come together and not talk about some form of censorship or another—be it governmental, a pervasive culture of intolerance, or both. Perhaps what ties us together is the way we deal with history and conflict.
Other questions and issues brought up by the panelists that I would be curious to explore further are the ones regarding audience development, infrastructure in countries where the performing arts are not industrialized or professionalized, and access and decentralization of the performing arts scene in a country.


ใน session อินโดนีเซีย เราเห็นความท้าทายบางอย่างที่ประเทศหมู่เกาะนี้กำลังเผชิญอยู่ วงการศิลปะกระจุกตัวอยู่แค่ไม่กี่เมืองและค่าเดินทางภายในประเทศราคาสูง ปัญหานี้ทำให้การเข้าถึงกันและการสานสัมพันธ์ระหว่างศิลปินซับซ้อนยิ่งขึ้นกว่าเดิม
อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องดีที่ได้เห็นว่าช่วงการระบาดนี้ การปฏิสัมพันธ์ของพวกเราจำนวนมากย้ายไปอยู่ในโลกออนไลน์แทน ศิลปินได้เข้าถึงกันและเชื่อมต่อกันภายในประเทศและภูมิภาคมากขึ้น ตามที่ panelists กล่าว บทสนทนาระหว่างคนในวงการศิลปะกำลังเกิดขึ้นมากกว่าที่เคยมีมาในประเทศอินโดนีเซีย Panelists จากอินโดนีเซียยังแสดงให้เห็นว่าการทดลองทำงานศิลปะและการเคลื่อนไหวทางการเมืองกำลังเฟื่องฟูบนโลกออนไลน์มากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีการการกระจายความรู้จำนวนมากและเข้าถึงกันมากขึ้นด้วยเหมือนกัน
ฉันเองมองเห็นเส้นคู่ขนานที่ชัดเจนของวงการศิลปะการแสดงในอินโดนีเซียและในไทย ทั้งเรื่องทุนสนับสนุนจากรัฐบาล ชุมชน และการวิจารณ์
เช่นเดียวกับอินโดนีเซีย ศิลปินไทยส่วนมากได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลน้อยนิดมากจนถึงไม่ได้เลยสักแดง สิ่งนี้ดูเหมือนว่าจะเป็นหัวข้อที่ศิลปินจากทั้งสองประเทศขำขันกันทั้งคู่ แต่ในประเทศไทย องค์กรและเทศกาลใหม่ ๆ โดยศิลปินและผู้จัดการงานศิลปะรุ่นใหม่เป็นประเด็นสำคัญในวงสนทนาที่จริงจังและสร้างสรรค์มากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
ถึงแม้ว่าฉันจะไม่มั่นใจว่าคนไทยจะบอกว่าจิตวิญญาณของโกตงรอย (Gotong royong) (ความร่วมมือกัน การร่วมแรงร่วมใจกัน) อยู่ในสายเลือดของพวกเรา แต่การเกิดขึ้นของ Bangkok Theatre Network (BTN) และ Bangkok Theatre Festival (BTF) และประเภทของชุมชนศิลปะการแสดงที่กำลังพัฒนาขั้นเป็นผลพวงมาจากการที่ประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรุงเทพฯ สนับสนุนในการเติบโตของวงการศิลปะการแสดงในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา
อย่างที่ผู้ร่วมสนทนาชาวอินโดนีเซียกล่าวกันว่าการวิจารณ์ศิลปะการแสดงและการรายงานข่าวของสื่อยังน้อยและขาดแคลนอย่างมากในอินโดนีเซีย สิ่งเหล่านี้จำเป็นต่อการเติบโตของวงการศิลปะ ฉันไม่แน่ใจว่ามันจำเป็นและฉุกเฉินเหมือนกันไหมสำหรับประเทศไทย แต่ศิลปะการแสดงและการวิจารณ์ผลงานไม่ได้เติบโตในอัตราเดียวกันอย่างแน่นอน ฉันดีใจที่หัวข้อนี้ถูกพูดถึงเพราะฉันคิดว่านักวิจารณ์เป็นส่วนสำคัญสำหรับชุมชน
แม้ว่าหัวข้อต้องห้ามในแต่ละสถานที่จะแตกต่างกันไป แต่ในภูมิภาคนี้ เป็นไปไม่ได้ที่คนในวงการศิลปะจะมารวมกันแล้วไม่เจ๊าะแจ๊ะเกี่ยวกับการเซ็นเซอร์รูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของรัฐบาลหรือเรื่องวัฒนธรรมในการไม่ยอมรับการคิดต่าง หรืออาจจะทั้งสองอย่าง บางทีสิ่งที่กำลังเชื่อมเราเข้าด้วยกันคือวิธีที่เราจัดการกับประวัติศาสตร์และความขัดแย้งก็ได้
คำถามและประเด็นอื่นที่ผู้ร่วมสนทนายกขึ้นมาและทำให้ฉันอยากรู้เพิ่มเติม คือประเด็นเกี่ยวกับการสร้างฐานผู้ชม โครงสร้างพื้นฐานในประเทศที่ศิลปะการแสดงไม่ได้ถูกทำให้เป็นอุตสาหกรรมหรือทำให้เป็นอาชีพ รวมถึงการเข้าถึงและการกระจายอำจของวงการศิลปะในประเทศหนึ่ง ๆ


And once again, many thanks to Muhammad, Rebecca, Ria and Darlane for joining us!




 


Register now for free, donations are optional (but nice)


You can register now for this week's talk and the remaining countries. Every session is free to join. However, if you'd like to support the running of the project, you can make a small donation in the following ways:



กรุณาลงทะเบียนล่วงหน้าเพื่อรับลิงค์เข้าร่วมพูดคุย ท่านสามารถบริจาคเพื่อสนับสนุนการทำงานของ BIPAM ได้ 3 ช่องทาง



  1. ผ่านทางเว็บไซต์หลักของ BIPAM บริจาคในอัตรา 5 USD ต่อหนึ่งครั้ง

  2. ผ่าน PAYPAL บริจาคตรงมาที่ should@bipam.org ระบุยอดตามต้องการ

  3. ผ่านบัญชีธนาคาร สำหรับผู้เข้าร่วมชาวไทยเท่านั้น ที่ ธนาคารกสิกรไทย

ชวัตถ์วิช เมืองแก้ว 6652131962













Strategic Partner:


Comments


bottom of page